ถอดรหัส Colour Code ของ Peter Saville บนปก Blue Monday (FAC 73), Power Corruption & Lies (FACT 75), Confusion (FAC 93)
By Turk.DownUnder
(4.04.18)
ฤดูใบไม้ผลิตปี 1983 วง New Order ออกแผ่นเสียงซิงเกิ้ลขนาด 12 นิ้ว (12") โดยมีเพลง" Blue Monday" บนหน้า A และ "The Beach" บนหน้า B ซึ่งเพลง Blue Monday ต่อมาได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะดีเจที่เปิดแผ่นในคลับ เรื่อยมาจนทำให้ยอดขายแผ่นติดอันดับ Best Selling ตลอดกาลแผ่นหนึ่งบนเกาะอังกฤษ และยังมีการผลิตแผ่นเสียงนี้ออกมาขายจวบจนทุกวันนี้
ครั้งหนึ่งจำได้ว่าไปร้านแผ่นเสียงและหยิบแผ่น Blue Monday ขึ้นมาส่องก็ออกอาการงง และจะงงมากกว่านี้ถ้าที่ร้านแผ่นเสียงนั่นไม่มีป้ายกระดาษเขียนติดบอกไว้ว่าเป็นวง New Order ซิงเกิ้ล" Blue Monday และ The Beach" เพราะปกหน้าและหลังของแผ่นเสียงไม่มีตัวหนังสือใดๆบอกชื่อวงดนตรี / เพลง / หรือข้อมูลใดเลย นอกจากที่สันปกแผ่นเสียงเขียนว่า “FAC SEVENTY THREE” ตัวซองแผ่นเสียงเป็นกระดาษอารต์ถูกพิมพ์คลุมเกือบเต็มพื้นด้วยสีดำทั้งด้านหน้า-หลังทั้งหมดยกเว้นมุมขวามือของแผ่นมีสีชมพู เขียว เหลือง เทา ส้ม ฯลฯ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมคละสีขนาดประมาณ 1.5x1 ซม. ยาวตามความสูงของซองแผ่นเสียง โดยต่ำแหน่งตรงกลางของแผ่นมีทรงวงกลมสีเงิน และค่อนมาทางด้านล่างขวามือมีจุดกลมขนาดเหรียญ 50 สตางค์ มองดูคร่าวๆคล้ายแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ เช่นเดียวกับปกอัลบั้มเต็ม Power Corruption & Lies (FACT 75) และแผ่นตัดซิงเกิ้ล Confusion (FAC 93) ที่ออกตามกันมา ก็ไม่มีรายละเอียดใดๆบนหน้าปกเหมือนกัน
Peter Saville และ Brett Wickens เป็นทีมออกแบบประจำให้กับทาง Factory Records ต้นสังกัดของวง New Order ได้ไอเดียรูปต้นแบบจากแผ่นเก็บข้อมูลฟล็อปปี้ดิสก์ จึงนำมาใช้ออกแบบปกแผ่นเสียง และเพิ่มคัลเลอร์โค้ด (Colour Code*) ลงไปด้วย โดยแผ่น Blue Monday 12" ที่พิมพ์ครั้งแรกๆนั้น หน้าปกมีการใช้เทคนิคตัดเจาะเป็นช่อง (Die Cut) และสอดเพิ่มซองในเป็นกระดาษสีเทาพิมพ์พิเศษ ซึ่งทำให้ต้นทุน และวัสดุในการผลิตปกแผ่นเสียงชิ้นนี้สูงขึ้นจนขาดทุนในทุกๆซิงเกิ้ลที่ขายออกไป ทางต้นสังกัด Factory Records จึงสั่งให้ลดต้นทุนการผลิตโดยใช้สีเทาธรรมดาพิมพ์ลงไปแทนบริเวณที่เคยเจาะช่อง (Die Cut) และใช้ซองใน Inner Sleeve เป็นกระดาษสีขาวแบบธรรมดาทั่วไปแทนซองกระดาษสีเทาพิมพ์ด้วยสีพิเศษแบบเดิม ดังที่เราเห็นบน Press ถัดๆมา นอกจากนี้ แรกเริ่มทางทีมบริหาร Factory Records ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าแผ่นเสียง 12" Blue Monday จะขาดทุนทุกๆแผ่นตั้งแต่ยังไม่วางขาย นั่นเพราะความล่าช้าของทีมกราฟิกดีไซด์ โรงพิมพ์ และความผิดพลาดของแผนกบัญชี แผ่นเสียงชิ้นนี้จึงรีบผลิตออกขายให้ทันเวลากำหนดที่จะวางสู่ตลาดโดยไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากทีมบริหาร Factoryrecords เลย
สำหรับ Colour Code* หรือสีที่เป็นบล็อกทางด้านขวามือของปก Blue Monday หรือมุมขวาบนของอัลบั้มเต็ม Power Corruption & Lies (FACT 75) และแผ่น 12" Confusion (FAC 93) นั้น คิดว่าหลายๆคนที่มีแผ่นเสียงนี้อยู่คงไม่ได้สงสัย หรือติดใจที่จะหาความหมาย แต่ Peter Saville และทางทีมออกแบบตั้งใจใส่สีในแต่ละช่องอย่างมีนัยยะสำคัญ บล็อกสีแต่ละชิ้นแต่ละสีเหล่านั้นแทนค่าตัวอักษรที่มาประกอบกันเป็นข้อมูลรหัสสำคัญบนแผ่นเสียงในแต่ละแผ่นนั้นเอง และคำเฉลยสำหรับการถอดรหัสสีเผื่อเทียบเป็นตัวอักษรนั้นก็อยู่บนปกหลังของอัลบั้ม Power Corruption & Lies (FACT 75) นั้นเอง รูปประกอบด้านล่างคือคำเฉลยของรหัสโค้ดลับของ Mr.Saville
และทั้งหมดนี้เป็นไอเดียล้ำๆดีไซน์แบบกลับหัวของ Peter Saville และทีมออกแบบของ Factory Records ในปี 1983 หรือ 35 ปีที่แล้ว
(4.04.18)
ฤดูใบไม้ผลิตปี 1983 วง New Order ออกแผ่นเสียงซิงเกิ้ลขนาด 12 นิ้ว (12") โดยมีเพลง" Blue Monday" บนหน้า A และ "The Beach" บนหน้า B ซึ่งเพลง Blue Monday ต่อมาได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะดีเจที่เปิดแผ่นในคลับ เรื่อยมาจนทำให้ยอดขายแผ่นติดอันดับ Best Selling ตลอดกาลแผ่นหนึ่งบนเกาะอังกฤษ และยังมีการผลิตแผ่นเสียงนี้ออกมาขายจวบจนทุกวันนี้
ครั้งหนึ่งจำได้ว่าไปร้านแผ่นเสียงและหยิบแผ่น Blue Monday ขึ้นมาส่องก็ออกอาการงง และจะงงมากกว่านี้ถ้าที่ร้านแผ่นเสียงนั่นไม่มีป้ายกระดาษเขียนติดบอกไว้ว่าเป็นวง New Order ซิงเกิ้ล" Blue Monday และ The Beach" เพราะปกหน้าและหลังของแผ่นเสียงไม่มีตัวหนังสือใดๆบอกชื่อวงดนตรี / เพลง / หรือข้อมูลใดเลย นอกจากที่สันปกแผ่นเสียงเขียนว่า “FAC SEVENTY THREE” ตัวซองแผ่นเสียงเป็นกระดาษอารต์ถูกพิมพ์คลุมเกือบเต็มพื้นด้วยสีดำทั้งด้านหน้า-หลังทั้งหมดยกเว้นมุมขวามือของแผ่นมีสีชมพู เขียว เหลือง เทา ส้ม ฯลฯ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมคละสีขนาดประมาณ 1.5x1 ซม. ยาวตามความสูงของซองแผ่นเสียง โดยต่ำแหน่งตรงกลางของแผ่นมีทรงวงกลมสีเงิน และค่อนมาทางด้านล่างขวามือมีจุดกลมขนาดเหรียญ 50 สตางค์ มองดูคร่าวๆคล้ายแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ เช่นเดียวกับปกอัลบั้มเต็ม Power Corruption & Lies (FACT 75) และแผ่นตัดซิงเกิ้ล Confusion (FAC 93) ที่ออกตามกันมา ก็ไม่มีรายละเอียดใดๆบนหน้าปกเหมือนกัน
Peter Saville และ Brett Wickens เป็นทีมออกแบบประจำให้กับทาง Factory Records ต้นสังกัดของวง New Order ได้ไอเดียรูปต้นแบบจากแผ่นเก็บข้อมูลฟล็อปปี้ดิสก์ จึงนำมาใช้ออกแบบปกแผ่นเสียง และเพิ่มคัลเลอร์โค้ด (Colour Code*) ลงไปด้วย โดยแผ่น Blue Monday 12" ที่พิมพ์ครั้งแรกๆนั้น หน้าปกมีการใช้เทคนิคตัดเจาะเป็นช่อง (Die Cut) และสอดเพิ่มซองในเป็นกระดาษสีเทาพิมพ์พิเศษ ซึ่งทำให้ต้นทุน และวัสดุในการผลิตปกแผ่นเสียงชิ้นนี้สูงขึ้นจนขาดทุนในทุกๆซิงเกิ้ลที่ขายออกไป ทางต้นสังกัด Factory Records จึงสั่งให้ลดต้นทุนการผลิตโดยใช้สีเทาธรรมดาพิมพ์ลงไปแทนบริเวณที่เคยเจาะช่อง (Die Cut) และใช้ซองใน Inner Sleeve เป็นกระดาษสีขาวแบบธรรมดาทั่วไปแทนซองกระดาษสีเทาพิมพ์ด้วยสีพิเศษแบบเดิม ดังที่เราเห็นบน Press ถัดๆมา นอกจากนี้ แรกเริ่มทางทีมบริหาร Factory Records ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าแผ่นเสียง 12" Blue Monday จะขาดทุนทุกๆแผ่นตั้งแต่ยังไม่วางขาย นั่นเพราะความล่าช้าของทีมกราฟิกดีไซด์ โรงพิมพ์ และความผิดพลาดของแผนกบัญชี แผ่นเสียงชิ้นนี้จึงรีบผลิตออกขายให้ทันเวลากำหนดที่จะวางสู่ตลาดโดยไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากทีมบริหาร Factoryrecords เลย
สำหรับ Colour Code* หรือสีที่เป็นบล็อกทางด้านขวามือของปก Blue Monday หรือมุมขวาบนของอัลบั้มเต็ม Power Corruption & Lies (FACT 75) และแผ่น 12" Confusion (FAC 93) นั้น คิดว่าหลายๆคนที่มีแผ่นเสียงนี้อยู่คงไม่ได้สงสัย หรือติดใจที่จะหาความหมาย แต่ Peter Saville และทางทีมออกแบบตั้งใจใส่สีในแต่ละช่องอย่างมีนัยยะสำคัญ บล็อกสีแต่ละชิ้นแต่ละสีเหล่านั้นแทนค่าตัวอักษรที่มาประกอบกันเป็นข้อมูลรหัสสำคัญบนแผ่นเสียงในแต่ละแผ่นนั้นเอง และคำเฉลยสำหรับการถอดรหัสสีเผื่อเทียบเป็นตัวอักษรนั้นก็อยู่บนปกหลังของอัลบั้ม Power Corruption & Lies (FACT 75) นั้นเอง รูปประกอบด้านล่างคือคำเฉลยของรหัสโค้ดลับของ Mr.Saville
และทั้งหมดนี้เป็นไอเดียล้ำๆดีไซน์แบบกลับหัวของ Peter Saville และทีมออกแบบของ Factory Records ในปี 1983 หรือ 35 ปีที่แล้ว
Comments
Post a Comment